Ad naffnang

Thursday 18 February 2016

เมื่อฉันเป็นครูสอนเด็กเล็ก ตอน รับมือกับเจ้าหนูก้าวร้าว (Aggressive Behavior)

หลังจากที่เราได้ตกลงสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กฝรั่งวัย 3 ขวบครึ่ง  เราเพิ่งจะเข้าใจว่า เด็กวัยนี้ดูแลยากมาก  อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย  ถึงขั้นก้าวร้าวและ ใช้ความรุนแรง
เราได้หาข้อมูลทางเนต  มีบทความที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆๆคะ

ลูกก้าวร้าว (Aggressive Behavior)

ผู้เขียน: โสธิดา ผุฏฐธรรม ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตรวจสอบโดยบรรณาธิการบทความด้าน

บทนำ

ลูกก้าวร้าว
พฤติกรรม ความก้าวร้าว (Aggressive Behavior) หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมที่ทำร้ายหรือมุ่งทำร้ายผู้อื่น ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความก้าวร้าวทางวาจา การกลั่นแกล้ง การต่อสู้ ทำร้ายร่างกาย ปล้น ข่มขืน และฆาตกรรม เป็นต้น ซึ่งความก้าวร้าวนั้นสามารถปรากฏได้ในหลายรูปแบบ และมักจะมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน พฤติกรรมก้าวร้าวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • พฤติกรรมก้าวร้าวเยี่ยงศัตรู (hostile aggression) หมายถึง พฤติกรรมก้าวร้าวที่มุ่งหมายให้เกิดความเจ็บปวดแก่บุคคลอื่น
  • พฤติกรรมก้าวร้าวที่เป็นเครื่องมือ (instrumental aggression) หมายถึง พฤติกรรมก้าวร้าวที่เป็นการใช้กำลังหรือการข่มขู่บุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ เช่น สิ่งของ หรืออาณาเขต
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญของคำนิยามข้างต้นอยู่ที่เจตนา ว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือจุดมุ่งหมายดังที่กล่าวไว้หรือไม่ ซึ่งทำให้การตัดสินปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็กเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะการตีความเจตนาของเด็กเล็กทำได้ยาก และพฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆ ที่เด็กแสดงออกมานั้นอาจไม่ได้มีเจตนามุ่งทำร้ายหรือมุ่งให้ได้มาซึ่งสิ่ง ที่ต้องการ แต่อาจมาจากความบกพร่องทางกายภาพหรือสติปัญญาบางประการของเด็ก ด้วยเหตุนี้ การสังเกตและตีความพฤติกรรมของเด็กอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

พฤติกรรมก้าวร้าวมีลักษณะอย่างไร?

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยได้ให้ความสนใจกับพฤติกรรมก้าวร้าวที่เริ่มในเด็กเล็กเพิ่มมากขึ้น มีการศึกษาตั้งแต่ในเด็กวัยเตาะแตะและวัยก่อนเข้าโรงเรียน โดยพบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กเล็ก ดังนี้
  • เด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องความก้าวร้าวอย่างเต็มที่จน กระทั่งอายุ 3-4 ขวบ ทว่าเด็กวัยเตาะแตะก็สามารถแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เช่น การทำร้ายพี่น้อง พ่อแม่ สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของต่างๆ
  • เด็กที่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนอายุ 3 ขวบนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
  • เด็กที่เริ่มแสดงความก้าวร้าวทางร่างกายหลังจากอายุ 5 ปีไปแล้ว มีจำนวนน้อยมาก
  • เด็กอายุ 2 ขวบ ซึ่งเป็นวัย terrible two จะมีอัตราการแสดงความก้าวร้าวบ่อยที่สุด แต่พวกเขาจะสามารถหาวิธีการจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่ดีกว่าเมื่ออายุ 4-5 ขวบ
เมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็กที่ก้าวร้าวมักจะทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูเป็นกังวล พวกเขาอาจขัดขวางการเรียนการสอน และทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ หรือทำให้เด็กคนอื่นๆ กลัว พวกเขายังอาจชอบโต้เถียงและแสดงความก้าวร้าวทางคำพูด นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ตัวเองและอารมณ์เสียได้ง่าย รวมถึงรู้สึกหงุดหงิดรำคาญผู้อื่นได้ง่าย พวกเขามักจะดื้อและมีลักษณะขี้โกรธ ขี้โมโห หากเราไม่ให้การช่วยเหลือเด็กเหล่านี้อย่างเหมาะสม พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาพฤติกรรมต่างๆ เช่น โรคดื้อและต่อต้าน หรือปัญหาความเรื่องความประพฤติ เมื่อปัญหารุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเด็กคนอื่นๆ หากปัญหารุนแรงถึงขั้นนี้ เด็กบางคนอาจถูกพักการเรียนหรือไล่ออกได้
อย่างไรก็ตาม เด็กอีกส่วนหนึ่งจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่รุนแรงหรือเป็นปัญหามากเท่า แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและครู เช่น พวกเขาอาจตี หยิก กระทุ้ง กระแทกเพื่อน หรืออาจขว้างปาสิ่งของขนาดเล็ก ทุบตีสิ่งของ หรือทำให้ข้าวของแตกหักเสียหายเมื่อพวกเขาโมโหหรืออารมณ์ไม่ดี ขณะที่เด็กบางคนอาจแสดงการอาละวาด เตะขา และกรีดร้อง นอกจากนี้ เด็กบางคนอาจแสดงความก้าวร้าวทางวาจา เช่น เรียกเด็กคนอื่นๆ ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย พวกเขาอาจข่มขู่หรือล้อเพื่อน หรือใช้วิธีการทางอารมณ์เพื่อกลั่นแกล้งหรือทำให้เด็กคนอื่นเจ็บปวด นอกจากนี้ยังอาจใช้การกีดกันออกจากกลุ่มหรือการนินทาว่าร้ายผู้อื่น

พฤติกรรมก้าวร้าวมีสาเหตุมาจากอะไร?

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ดังนี้
  • อารมณ์โกรธ เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ใช่เพียงแต่ความโกรธเท่านั้นที่มีผลต่อเด็ก แต่รวมไปถึง ความอิจฉา ความโลภ ความกลัว และความหมดหวัง
  • สัญชาตญาณ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เวลาที่เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย ระบบฮอร์โมนในร่างกายเด็กจะหลั่งสารอะดรีนาลีน (adrenaline) เพื่อป้องกันตัวหรือเอาตัวรอด
  • พันธุกรรม มีหลักฐานแสดงว่าพื้นฐานอารมณ์ และความผิดปกติต่างๆ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคอยู่ไม่สุข และภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งภาวะเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
  • ปัจจัยทางกายภาพ เช่น การบาดเจ็บที่สมองส่วนหน้า หรือโรคลมชักบางชนิด
  • การถูกกระตุ้นจากสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล และขาดทักษะในการแก้ปัญหา
  • การมีรูปแบบความผูกพันแบบไม่มั่นคง (insecure attachment) และแบบสับสน (disorganized attachment)
  • พ่อแม่มีรูปแบบการเลี้ยงดูที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น แบบเผด็จการ ควบคุม เอาใจ ทอดทิ้ง รวมถึงความไม่เข้ากันระหว่างพ่อแม่และลูก ทำให้มีผลกระทบต่ออารมณ์ของพ่อแม่ และส่งผลต่อการเลี้ยงดูลูกได้
  • ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว
  • เด็กขาดต้นแบบที่ดี เช่น สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนฝูง ที่ให้คุณค่าและเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมที่ไม่ก้าวร้าว ขณะเดียวกันก็ได้รับอิทธิพลทางลบจากสิ่งแวดล้อม เช่น สื่อต่างๆ ที่สะท้อนถึงความรุนแรง

การแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวมีความสำคัญอย่างไร?

ข้อมูลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กที่ไม่แสดงความก้าวร้าวในช่วงวัย เตาะแตะมักจะไม่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อโตขึ้นและเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ในขณะที่เด็กที่แสดงความก้าวร้าวแต่เล็กมักจะแสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมที่ ต่อเนื่องและรุนแรงเมื่อโตขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัยล่าสุดยังชี้ให้เห็นว่าประมาณ 67% ของเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมเมื่ออายุ 2 ขวบ จะยังคงมีปัญหาดังกล่าวเมื่ออายุ 5-6 ขวบ และ 1 ใน 3 ของเด็กอายุ 5 ขวบที่มีปัญหาเรื่องความก้าวร้าวยังคงมีปัญหาเดิมอยู่เมื่ออายุ 14 ปี และมีงานวิจัยอื่นๆ อีกที่สนับสนุนว่าปัญหาความก้าวร้าวในเด็กเล็กนั้น ราวครึ่งหนึ่งจะยังคงอยู่ต่อไปจนถึงช่วงวัยรุ่น ที่น่าสนใจคือปัญหาความก้าวร้าวส่วนใหญ่ที่พบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มักกระทำ โดยบุคคลที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็ก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจะต้องใส่ใจแก้ปัญหาหากพบว่าลูก หรือเด็กนักเรียนมีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว หรือมีแนวโน้มหรือความเสี่ยงที่จะมีปัญหาความก้าวร้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ที่ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น สื่อโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต มีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของเด็ก และทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในทางที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความรุนแรงและผลเสียหายต่อตัวเด็ก ครอบครัว โรงเรียน และสังคมได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ไม่ว่ารูปแบบและระดับความก้าวร้าวของเด็กจะเป็นแบบใดก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองครูจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เด็กเหล่านี้จะต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมพฤติกรรมของตนเองและจัดการกับความ โกรธและปัญหาต่างๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งผู้ใหญ่สามารถช่วยได้โดยการสอนให้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย แทนการใช้ความรุนแรง และคอยเอาใจใส่ดูแลและควบคุมเด็กๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องดังกล่าว

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาลูกก้าวร้าวได้อย่างไร?

การช่วยเหลือเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว พ่อแม่ ผู้ปกครองควรจะสนใจกับการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี นอกจากนี้ พ่อแม่ ผู้ปกครองควรที่จะสนใจอย่างต่อเนื่องด้วยความอดทน โดยใช้วิธีต่างๆ ดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการทำโทษ หากพ่อแม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ลูกก็จะซึมซับสิ่งเหล่านั้นด้วย
  • เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการควบคุมอารมณ์และการจัดการความโกรธ
  • สอนให้ลูกแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่ดีและไม่ดีอย่างเหมาะสม
  • สนับสนุนให้ลูกพูดคุยถึงปัญหาที่มี และสอนทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆ
  • ให้รางวัลเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่ก้าวร้าว โดยการแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจ
  • กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน ว่าพฤติกรรมใดพึงประสงค์ พฤติกรรมใดไม่พึงประสงค์ และติดตามพัฒนาการ โดยใช้การเสริมแรงทางบวกร่วมด้วย เช่น ให้รางวัลพิเศษ หรือพาไปทำกิจกรรมที่ชอบ
  • เอาใจใส่และให้ความรักความเข้าใจ เลี้ยงดูลูกแบบให้การสนับสนุนและให้ความอบอุ่น หลีกเลี่ยงรูปแบบการเลี้ยงดูแบบเผด็จการ ควบคุม เอาใจ หรือทอดทิ้ง
  • สอนให้ลูกฝึกมองจากมุมมองของผู้อื่นหรือมุมมองที่ต่างออกไป เพราะเด็กที่ก้าวร้าวมักตีความเจตนาหรือพฤติกรรมของผู้อื่นผิดไป และมักตอบสนองอย่างก้าวร้าว
  • ลดความตึงเครียดและความวิตกกังวล ที่อาจทำให้เด็กเครียด ซึ่งทำให้ทักษะในการแก้ปัญหาของเด็กด้อยลง
  • ใช้วิธีแยกเด็กไปอยู่ที่มุมห้องชั่วคราวหรือ time out เมื่อเกิดการระเบิดอารมณ์หรือแสดงความรุนแรง เพื่อให้ทั้งเด็กและพ่อแม่ได้สงบสติก่อนพูดคุยกันด้วยเหตุผล
  • บอกเตือนล่วงหน้าก่อนหมดเวลาเล่นของเล่นหรือทำกิจกรรมบางอย่าง เพราะการสั่งให้หยุดในทันทีมักจะทำให้เด็กฉุนเฉียว
  • สังเกตว่าสิ่งที่เด็กเล่นหรือทำอยู่ เป็นสิ่งที่เด็กสนใจหรือไม่ ของเล่นหรือกิจกรรมที่น่าเบื่อหรือยุ่งยากเกินไปอาจทำให้เด็กหมดความอดทนและ อารมณ์เสีย พ่อแม่ควรเปลี่ยนให้ลองสิ่งใหม่ๆ แทน
  • ควบคุมการรับชมรายการโทรทัศน์และการเล่นเกมส์ให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงเนื้อหาที่มีความรุนแรง และคอยให้คำแนะนำ

เกร็ดความรู้เพื่อครู

คุณครูสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคต่างๆ เช่นเดียวกับพ่อแม่ รวมถึงใช้แนวทางต่อไปนี้ด้วย
  • ทำความเข้าใจว่าเด็กอาจไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและการแสดงออกของตนเองได้ตลอดเวลา
  • ระบุและลดสาเหตุของความเครียดที่นำไปสู่การแสดงความก้าวร้าว
  • สอนให้เด็กรู้จักและจัดการความรู้สึกและการกระทำที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อตนเองและผู้อื่น
  • วางแผนล่วงหน้าว่าจะป้องกันและรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กแสดงความก้าวร้าวในสถานการณ์ต่างๆ
  • ในฐานะผู้ใหญ่ ควรเข้าใจและควบคุมสิ่งที่กระทบกระเทือนอารมณ์ของตัวเองได้อย่างดี
  • วางตัวเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเป็นผู้นำ น่าเคารพ ที่สามารถจัดการกับเด็กที่มีปัญหาได้
  • วางแผนล่วงหน้ากับผู้ปกครอง และ/หรือครูใหญ่ เพื่อกำหนดวิธีการและขอบเขตในการปฏิบัติต่อเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว

Haul Winter-Final sale เทคนิคดีๆในการเลือกซื้อของเซลล์ที่สเปน

สวัสดีคะสาวๆ

วันนี้เรามาขอเห่อเสื้อผ้า รองเท้าที่ได้ไปเจ็บมา. มีทั้ง แบรนด์ Zara / H&M Mango /Massimo dutti
พร้อมแนะนำเทคนิคการซื้อของเซลล์ของเรามาฝากคะ







Thanks for watching ka
xx

Friday 12 February 2016

คำบอกรักภาษาสเปน. Spanish love words and phrases.


อยากบอกรักแบบอินเตอร์กันใหม่ เอาประโยคบอกรักภาษาสเปนมาฝากคะ

กระทู้สนทนา
สวัสดีคะทุกคนๆ
ใกล้วันแห่งความรักแล้ว. เอาประโยคบอกรักใน_าษาสเปนมาฝากคะ เผื่อจะได้ใช้คะ.
หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ด้วยรัก
Taichill
xxx 

Monday 1 February 2016

คำสรรพนามในภาษาสเปน Los pronombres personales.



 
กลุ่มคำสรรพนามในภาษาสเปน Los pronombres personales.
  สวัสดีค่ะทุกคน

Practicamos español juntos วันนี้ขอนำเสนอหัวข้อ กลุ่มคำสรรพนามในภาษาสเปน Los pronombres personales.  มีหลักการจำง่ายๆๆมาฝากกันค่ะ




 

กลุ่มคำสรรพนามในภาษาสเปน Los pronombres personales.

subject Pronouns in English




singular:
plural:
first person:
I
we
second person:
you
you
third person:
he, she, it
they

Spanish Subject Pronouns

The subject pronoun chart in Spanish looks like this:


singular:
plural:
first person:
yo  
nosotros, nosotras
second person:
vosotros, vosotras
third person:
él, ella
ellos, ellas

คำสรรพนามในภาษาสเปนเทียบกับภาษาไทย



singular:
plural:
สรรพนามบุรุษที่ 1:
yo / ฉัน
               nosotros, nosotras- พวกเรา
                        สรรพนามบุรุษที่ 2 tú -คุณ                vosotros, vosotras- พวกคุณ
                      สรรพนามบุรุษที่ .3 él, ella- เขา ผู้ชาย / เขาผู้หญิง   ellos, ellas- พวกเขา


ตัวอย่างประโยค
Yo / ฉัน
Yo hablo español.
I speak Spanish. ฉันพูดภาษาสเปน

Tú/คุณ

Tú hablas español.
You speak Spanish.  คุณพูดภาษาสเปน

Él, Ella / เขา - เธอ

Él habla español.
He speaks Spanish.  เขาพูดภาษาสเปน
Ella habla español.
She speaks Spanish. เธอพูดภาษาสเปน

Nosotros, Nosotras  พวกเรา

Nosotros hablamos español.
We (group with one or more males) speak Spanish. พวกเราพูดภาษาสเปน
Nosotras hablamos español.
We (all female group) speak Spanish.พวกเราพูดภาษาสเปน

Vosotros, Vosotras พวกคุณ

Vosotros habláis español.
You / Y’all / You guys speak Spanish. พวกคุณพูดภาษาสเปน
If the entire group you’re addressing is female, say vosotras instead.
Vosotras habláis español.
You (all female group) speak Spanish.พวกคุณพูดภาษาสเปน

Ellos, Ellas / พวกเขา

Ellos hablan español.
They (group with one or more males) speak Spanish. พวกเขาพูดภาษาสเปน
Ellas hablan español.
They (all female group) speak Spanish.พวกเขาพูดภาษาสเปน

Formal "You"
สำหรับการใช้ คุณ แบบ เป็นทางการ  คำเอกพจน์ใช้ Usted และพหูพจน์ใช้ Ustedes

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆๆนะคะ 
ขอบคุณที่ติดตามกันคะ
Tai